ไขมันในเลือดสูง อันตรายอย่างไร?
เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และโรคอัมพาต จึงควรเริ่มป้องกันหรือรักษา ตั้งแต่อายุประมาณ 35 – 40 ปี ขึ้นไป จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพาต
ไขมันในเลือดควรตรวจสารต่างๆดังต่อไปนี้
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้และได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป คอเลสเตอรอลมีมากในไขมันสัตว์ ระดับปกติไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. และถ้าพบว่าสูงกว่านี้ต้องควบคุมอาหารและพบแพทย์ จากการศึกษาพบว่า ถ้าลดระดับคอเลสเตอรอลลงได้ จะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบลดลง
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ไขมันนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปและการสังเคราะห์ในร่างกาย ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมักจะสูงในคนอ้วน ถ้าพบว่าสูงหรือสูงมากในคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น
3. เอชดีแอล (High Density Lipo-protein: HDL) เป็นไขมันที่มีหน้าที่จับไขมันคอเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกายออกไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDL สูง จะมีผลทำให้มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดลดลง โดยเฉพาะถ้าสูงเกิน 50 มก./ดล.
เอชดีแอล (HDL) จะสูงจากการออกกำลังกายและยาลดไขมันบางชนิด
ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
1.ลดน้ำหนักตัวถ้าอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไข่นกกระทา ไข่แดง เครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมันทุกชนิด ฯลฯ
3.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทเบียร์ แอลกอฮอล์ ขนมหวาน แป้งข้าวต่างๆ เพราะจะสะสมเกิดเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้
4.หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน เปลี่ยนแปลงวิธีปรุงอาหารเป็นนึ่ง ต้ม ย่าง อบ
5.เพิ่มการรับประทานผักใบต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้กากใยเพื่อร่างกายได้รับใยอาหารมากขึ้นจะช่วยให้การดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
6.เพิ่มการออกกำลังกาย วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ โดยออกกำลังกายสม่ำเสมอและต่อเนื่องครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เช่น เดินเร็ว เต้นรำ ขี่จักรยาน
Olisa Q10 โอลิซ่า คิวเท็น ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากจมูกข้าวผลงานวิจัยรางวัลชนะเลิศเหรียญทองระดับโลก
การดูแลสุขภาพ อาหารเสริมก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ดี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร. 097-145-9452 ,092-464-6229